วันพฤหัสบดีที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2556

สะพานร้องไห้ ประติมากรรมแห่งอาลัยรำลึก…



สะพาน ที่มีรูปแบบทางสถาปัตยกรรม แบบยุโรปแกะสลักภาพนูนต่ำแห่งนี้ ทอดตัวยาวข้ามคลองมหานาคเชื่อมระหว่างถนนบริพัตร ถนนดำรงรักษ์ และถนนหลานหลวง ให้ผู้คนได้ใช้สัญจรไปมาร่วมร้อยปี มีเพียงผู้คนส่วนน้อยเท่านั้นที่รู้ชื่อจริงๆ ซึ่งก็คือ สะพานมหาดไทยอุทิศเพราะส่วนใหญ่จะเรียกและคุ้นเคยกับ "สะพานร้องไห้"มากกว่า  ชื่อสะพานร้องไห้ สันนิฐานว่าน่าจะมาจากการเรียกตามอัปกิริยาของรูปปั้นศิลปะที่อยู่บนตัวสะพาน



บนตัวสะพาน มีรูปปั้นผู้หญิงอุ้มเด็กในมือเด็กถือช่อดอกซ่อนกลิ่นยืนร้องไห้อยู่ และเสาข้างๆกันนั้นเป็นผู้ชายกับเด็กยืนอยู่ ใบหน้าบ่งบอกถึงความเศร้าโศก เสียใจ สะท้อนความรู้สึกออกมาทำให้ผู้ที่พบเห็นเกิดความรู้สึกเศร้าใจตามไปด้วย


            หากสังเกตให้ดีก็จะพบรายละเอียดของสะพานเพิ่มขึ้น นอกจากจะมีรูปปั้นคนแล้วบริเวณหัวสะพานจะมีสิงห์อยู่ด้วยฝั่งละสองตัว ราวสะพานถูกแกะสลักตกแต่งด้วยดอกลอเรนส์ ส่วนหัวเสาที่รูปปั้นยืนอยู่เหนือขึ้นไป มีสัญลักษณ์ จปร. และ เลข ซึ่งเป็นพระปรมาภิไธยย่อ และ เลขประจำรัชกาลของ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รายละเอียดศิลปะบนสะพานที่สื่อออกมานั้น ทำให้เกิดข้อสงสัยว่าที่จริงแล้ว สะพานแห่งนี้ สร้างเพื่อแสดงวัตถุประสงค์ใดนอกเหนือจากการใช้สัญจรไปมา


 สิงห์บริเวณหัวสะพาน




ดอกลอเรนส์ที่บริเวณราวสะพาน





.
.
.


ทำไมจึงสร้างให้รูปปั้นนั้นร้องไห้ แทนที่จะสร้างให้รูปปั้นนั้นหัวเราะ




แรกเริ่มเดิมทีนั้นการก่อสร้างสะพานมหาดไทยอุทิศเป็นพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเพื่อให้เกิดความสะดวกในการสัญจรไปมาของผู้คนในสมัยนั้น พระองค์ทรงห่วงใยความเป็นอยู่ของราษฏร หากแต่พระองค์ทรงสวรรคตก่อนสะพานจะแล้วเสร็จ นำมาซึ่งความเศร้าโศกเสียใจแก่บรรดา พสกนิกรในสมัยนั้นเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นเด็กหรือผู้ใหญ่ เสนาบดีกระทรวงมหาดไทและกระทรวงต่างๆทั่วประเทศร่วมกันบริจาคค่าก่อสร้าง เพื่อเทิดพระเกียรติและแสดงสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณต่อสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

 


ต้นแบบชายหญิงและเด็กบนสะพาน




โดยให้รูปปั้นชายหญิง และเด็ก เป็นตัวแทนประชนชาวสยาม 
ถ่ายทอดความ เศร้าโศก เสียใจต่อการจากไปของพระเจ้าอยู่หัวที่ตนเองรักและเชิดชูยิ่งชีพออกมา 
 ผ่านศิลปะอันสวยงาม


     
สถาปัตยกรรมแห่งนี้นอกจากจะอำนวยความสะดวกในการสัญจรไปมาและสะท้อนความเศร้าโศกเสียใจแก่ผู้ที่พบเห็นตลอดระยะเวลาร่วม
ร้อยปีแล้วสิ่งหนึ่งที่เห็นคือความจงรักภักดีและสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของคนสมัยก่อนที่มีต่อ
กษัตริย์อยู่ในสายเลือดคนไทยมาช้านาน















“ถ้าเพียงมอง มองผ่านๆจะเห็นแค่ความเศร้าโศกเสียใจ”
“ขอจงมอง มองด้วยใจ จะเห็นความจงรักและภักดี”